สาส์นสาระเวชศาสตร์เขตเมือง
คณะแพทยศาสตร์วชิรพยาบาล มหาวิทยาลัยนวมินทราธิราช
โรคติดเชื้อไวรัสซิกา ภัยร้ายจากยุงลาย
โรคไข้ซิกาคืออะไร โรคไข้ซิกาเกิดจากการติดเชื้อไวรัสซิกา ซึ่งอยู่ในตระกูลฟลาวิไวรัส (flavivirus) มียุงลายเป็นพาหะนำโรค โดยยุงที่เป็นพาหะนำโรคไข้ซิกา เป็นชนิดเดียวกันกับยุงที่เป็นพาหะของโรคไข้เลือดออก โรคไข้ปวดข้อยุงลาย (Chikungunya) และไข้เหลือง สาเหตุหลักของการติดเชื้อเกิดจากการโดนยุงลายที่มีเชื้อไวรัสซิกาติดและช่องทางอื่นๆ ที่อาจเป็นไปได้ เช่น การแพร่ผ่านทางเลือด การแพร่จากมารดาที่ป่วยสู่ทารกในครรภ์
อาการของโรคไข้ซิกา อาการที่พบบ่อย ได้แก่ มีไข้ มีผื่นแดง เยื่อบุตาอักเสบ ปวดกล้ามเนื้อ ปวดข้อ อ่อนเพลีย ปวดศีรษะ ซึ่งโดยปกติแล้วอาการเหล่านี้จะเป็นเพียงเล็กน้อย ไม่รุนแรง และเป็นอยู่ประมาณ 2-7 วัน ยกเว้นในหญิงตั้งครรภ์ซึ่งอาจทำให้เด็กทารกที่คลอดมามีสมองเล็ก (microcephaly) หรือมีภาวะแทรกซ้อน ระหว่างตั้งครรภ์ได้
การติดเชื้อจากแม่สู่ลูก การติดเชื้อจากแม่สู่ลูกขณะตั้งครรภ์หรือคลอด กรณีที่แม่มีเชื้อไวรัสชนิดนี้อยู่อาจส่งผ่านไวรัสไปสู่ทารกในครรภ์ ทำให้ทารกเสี่ยงต่อภาวะศีรษะเล็กแต่กำเนิด (Microcephaly) และโรคทางสมองที่ร้ายแรง เนื่องจากสมองของทารกหยุดพัฒนาตั้งแต่ในครรภ์ หรือหยุดพัฒนาเมื่อคลอด จึงทำให้ศีรษะมีขนาดเล็กลงตามสมองไปด้วย ทารกที่เกิดภาวะนี้ขึ้นจะมีพัฒนาการช้าในทุกด้าน มีปัญหาทางด้านการได้ยิน การมองเห็น การเคลื่อนไหวร่างกาย หรือการรับประทานอาหาร ฯลฯ การแพร่เชื้อผ่านทางเพศสัมพันธ์ เชื้อไวรัสซิกา สามารถอยู่ในน้ำอสุจิได้นานกว่าของเหลวอื่น ๆ ในร่างกาย เช่น สารคัดหลั่งภายในช่องคลอด ปัสสาวะ และในเลือด การป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสซิกา
การรักษา
ปัจจุบันนี้พบว่ายังไม่มีวัคซีนป้องกันเชื้อไวรัสซิกา
ผู้ป่วยดื่มน้ำมาก ๆ เพื่อป้องกันภาวะขาดน้ำ
นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ
รับประทานยาพาราเซตามอล ในกรณีที่เป็นไข้หรือมีอาการปวด
ห้ามรับประทานยาแอสไพริน
การป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสซิกา
ป้องกันตนเองจากการโดนยุงกัดด้วยการทายากันยุง สวมผ้าสีอ่อนหรือเนื้อหนา
เมื่ออาศัยอยู่ในบ้าน ควรใช้ผลิตภัณฑ์ป้องกันยุง ปิดประตู กางมุ้ง หรือใช้ม่านกันยุง
กำจัดแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลายในบริเวณที่อยู่อาศัยและบริเวณรอบบ้าน เช่น ใช้ฝาปิดหรือครอบภาชนะ คว่ำภาชนะที่มีน้ำขัง หรือใส่ทรายอะเบท (ABATE) ในภาชนะที่มีน้ำต่าง ๆ
หากมีเพศสัมพันธ์ ควรใช้ถุงยางอนามัย เพื่อลดความเสี่ยงในการได้รับเชื้อ
หลีกเลี่ยงการเดินทางไปยังประเทศที่มีการระบาดของโรค หากจำเป็นต้องเดินทางควรปรึกษาแพทย์ เพื่อขอคำแนะนำในการปฏิบัติตน
สาส์นสาระเวชศาสตร์เขตเมือง
คณะแพทยศาสตร์วชิรพยาบาล มหาวิทยาลัยนวมินทราธิราช
โรคหลอดเลือดสมอง (Stroke)
โรคหลอดเลือดสมองคืออะไร โรคหลอดเลือดสมอง คือ โรคที่มีความผิดปกติของระบบการไหลเวียนของเลือดไปที่สมอง ทำให้สมองขาดเลือดไปเลี้ยงและสูญเสียการทำหน้าที่ของร่างกายที่สมองส่วนนั้นควบคุมอยู่ ทำให้มีอาการชาที่ใบหน้า ปากเบี้ยว พูดไม่ชัด แขน ขา ข้้างใดข้างหนึ่งอ่อนแรง เคลื่อนไหวไม่ได้ หรือเคลื่อนไหวลำบากอย่างทันทีทันใด
ปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดโรคหลอดเลือดสมอง
ภาวะความดันโลหิตสูง
ภาวะไขมันในเลือดสูง
โรคเบาหวาน
โรคหัวใจ
การสูบบุหรี่ การดื่มแอลกอฮอล์
น้ำหนักเกิน ขาดการออกกำลังกายที่เหมาะสม
เครือญาติเคยเป็นโรคหลอดเลือดสมอง
การป้องกันโรคหลอดเลือดสมอง
ตรวจวัดความดันโลหิตอย่างสม่ำเสมอ
ตรวจร่างกายว่ามีความผิดปกติของการเต้นของหัวใจหรือไม่
งดการสูบบุหรี่
ควบคุมน้ำหนักให้อยู่ในเกณฑ์ที่เหมาะสม
ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ อย่างน้อยสัปดาห์ละ 3 ครั้ง
ตรวจสุขภาพประจำปีทุกปีเพื่อตรวจวัดระดับน้ำตาลและไขมันในเลือด
งดการดื่มสุรา
รับประทานอาหารที่ถูกสุขลักษณะและมีประโยชน์ เช่น ผัก ผลไม้ ข้าวซ้อมมือ อาหารประเภทธัญพืช
อาการเตือนที่ต้องพบแพทย์ทันที
ใบหน้าเบี้ยว ปากเบี้ยว
แขนขาอ่อนแรงเฉียบพลัน มึนงง วิงเวียน ทรงตัวไม่ได้
พูดลำบาก พูดไม่ชัด พูดไ่ม่ได้
จากระยะเวลาที่มีอาการ ต้องรักษาภายใน 3 ชั่วโมง